วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที3

วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่ม3คน ให้วิเคราะห์และบันทึกงานของเพื่อนที่อาจารย์ให้ทำมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

1.ความหมายของคณิตศาสตร์

คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า mathematics มาจากคำภาษากรีก μάθημα (máthema) แปลว่า "วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน" และคำว่า μαθηματικός (mathematikós) แปลว่า "รักที่จะเรียนรู้"
สรุป คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับการคิด การคำนวณ โดยใช้หลักความเป็นเหตุเป็นผล
ใน วิชาคณิตศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 สายใหญ่ๆ ก็คือคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ (pure mathematics) กับคณิตศาสตร์ประยุกต์ (applied mathematics) ส่วนที่เป็นคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ก็จะศึกษาคณิตศาสตร์ในเชิงที่เป็นทฤษฎีหรือ นามธรรม อย่างเช่น พีชคณิต เรขาคณิต เป็นต้น อีกสายหนึ่งคือคณิตศาสตร์ประยุกต์มุ่งศึกษาโดยการนำทฤษฎีของคณิตศาสตร์ บริสุทธิ์มาประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาต่างๆ เช่น แคลคูลัส
คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการประกอบกิจกรรมนั้น ๆ   *แหล่งอ้างอิง จากหนังสือ คณิตศาสตร์ 2*

2. จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์

 1.รู้ และแสดงให้เห็นความเข้าใจแนวคิดจากห้าสาขาของคณิตศาสตร์ (จำนวนพีชคณิตเรขาคณิตและตรีโกณมิติสถิติและความน่าจะเป็นและคณิตศาสตร์ไม่ ต่อเนื่อง) 
2.ใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมและทักษะในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ทั้งสองคุ้นเคยและไม่คุ้นเคยรวมทั้งผู้ที่อยู่ในบริบทชีวิตจริง
3. เลือกและนำกฎทั่วไปอย่างถูกต้องในการแก้ปัญหารวมทั้งผู้ที่อยู่ในบริบทชีวิตจริง
*แหล่งอ้างอิง รวัตร     พรหมเพ็ญ  (2537). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา

3.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์

- แนวคิดของทฤษฏีคณิตศาสตร์ เด็กต้องมีการแก้ปัญหา แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดจากการเรียนรู้ในด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งครูผู้สอนต้องมีการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบระเบียบโดยที่เน้นผู้เรียน เป็นหลักให้มากที่สุด
อ้างอิงจาก : นิตยา  ประพฤติกิจ (2536).การพัฒนาเด็กปฐมวัย


4.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

1.การนับ(counting)                                       7.รูปทรงและเนื้อที่(figure and area)
2.ตัวเลข(number)                                        8.การวัด(measurement)
3.การจับคู่(matching)                                    9.เซต(set)
4.การจัดประเภท(classification)                    10.เศษส่วน(fraction)
5.การเปรียบเทียบ(comparing)                     11.การทำตามแบบหรือลวดลาย(patte ming)
6.การจัดลำดับ(ordering)                             12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ให้ปริมาณ(con ervation) 
 ***แหล่งอ้างอิง  นิตยา  ประพฤติกิจ 2541  17-19*** 

1.การจับกลุ่มหรือเซต  การจับคู่
2.จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่  จำนวนคี่
3.ระบบจำนวน (number system) ชื่อของตัวเลข 1-10
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จาการรวมกลุ่ม
6.ลำดับที่
7.การวัด
8.รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง รูปทรง
9.สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาโดยการบันทึก ทำแผนภูมิการเปรียบเทียบต่างๆ
***แหล่งอ้างอิง เยาวภา เดชะกุปต์***

5.หลักการสอนของคณิตศาสตร์
    1.)ควรให้นักเรียนได้ปฏิบัติและทำกิจกรรมด้วยตนเอง
    2.)ควรสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นกันเองระหว่างครูกับนักเรียน
    3.)ใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น
    4.)เชื่อมโยงระหว่างสื่อกับความเข้าใจด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก
    5.)การจบชั่วโมงเรียนด้วยความประทับใจ
อ้างอิงจาก : Max  sobel (2544).ศิลปะการสอนคณิตศาสตร์. ผู้แปล ฉวีวรรณ เศวตมาตย์
                    เยาวภา  เดชะคุปต์ (2545). การศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์
                    นิตยา    ประพฤติกิจ(2536).การพัฒนาเด็กปฐมวัย 





 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น