วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันนี้อาจารย์ปิดคอร์สการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายอาจาร์ได้เปิดสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเกษมพิทยาให้ดู ซึ่งมีดังนี้


Mind Mapping หน่วยที่เรียน


ตารางเปรียบเทียบลักษณะ


 สื่อที่ทำจากแกนทิชชู่ สอนในเรื่องของรูปทรง




ภาพศิลปะที่เด็กวาด สอนในเรื่องของจำนวน


 หลังจากที่อาจารย์ได้ให้ดูเสร็จแล้วก็ได้ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการสอนต่อ โดยกลุ่มที่ออกมาต่อไป คือ หน่วย ข้าว




กลุ่มที่2 หน่วย ข้าว


 


***หลังจากจบการสาธิต การสอนอาจารย์ได้บอกกลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมาสาธิตว่า เวลาที่จะนำเสนอนั้นไม่เพียงพอจึงให้เขียนแผนจัดประสบการณ์ให้ละเอียดเหมือน ออกมาสาธิตการสอนจริงๆ ส่งในสัปดาห์หน้าในวันพุธ พร้อมสอบ เวลา 15.00 น.ในวันเดียวกัน

 

บันทึกการเรียนครั้งที่15

วันนี้อาจารย์ได้ให้ส่งงาน Mind Mapping เรื่องสาระและมาตรฐานคณิตศาสตร์หลังจากส่งงานแล้ว อาจารย์ได้ให้ออกมาสาธิตการสอน ซึ่งกลุ่มแรกที่ออกมา คือ หน่วย ผลไม้ ประกอบด้วย

วันจันทร์ ชนิดของผลไม้
วันอังคาร   ลักษณะผลไม้
วันพุธ  ประโยชน์ของผลไม้ซึ่งเล่าเป็นนิทาน
วันพฤหัสบดี  การถนอนอาหาร
วันศุกร์ การขยายพันธ์






(ภาพบรรยากาศที่เพื่อนนำเสนองาน)










บันทึกการเรียนครั้งที่14

***วันนี้ไม่มีการรียนการสอน***

หมายเหตุ อาจารย์ให้ทำงานตามที่รับมอบหมาย

บันทึกการเรียนครั้งที่13

      วันนี้อาจารย์พูดถึงมาตรฐานของคณิตศาสตร์ จำนวน คือ ปริมาณแทนค่าใว้บอกปริมาณในการนับ ตัวเลขแทนค่ามี 2 แบบ คือ ตัวเลขไทยและฮินดูอารบิก ตัวเลขมีไว้กำกับแทนค่าและการเปรียบจำนวนเปรียบเทียบค่าและปริมาณจึงทำให้มี 2 กลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบ

2.1 การเปรียบเทียบด้วยสายตา
2.2การเปรียบเทียบให้เห็นจริง โดยการทำให้เห็นจริงแบ่งครึ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน

 

บันทึกการเรียนครีั้งที่12

วันนี้อาจารย์ให้ ส่งหน่วยที่เป็นแบบ Mind Map และงานเดี่ยวที่เป็นแผนการจัดกิจกรรม 5 วัน เพื่อตรวจและนำจุดที่บกพร่องไปปรับปรุงแก้ไข หลังจากส่งงานเสร็จอาจารย์ได้ยกตัวอย่างของเพื่อน ในหน่วยเรื่อง ไข่ โดยอธิบาย ดังนี้




- สอนให้เด็กรู้จักชนิดของใครโดยถามเด็กว่ารู้จักไข่ชนิดใดบ้าง
- เริ่มกิจกรรมโดยนำตะกร้าที่มีไข่มา แล้วถามเด็กว่า  อยากรู้มั้ยในตะกร้านี้มีไข่อะไรบ้าง ให้เด็กๆได้    ช่วยกันตอบ จากนั้นก็ถามเด็กอีกว่า ในตะกร้านี้มีไข่อยู่ทั้งหมดกี่ฟอง ให้เด็กได้ช่วยกันนับโดยครูเป็นผู้หยิบไข่ขึ้นมาทีละฟอง 
- สอนในเรื่องของ สี  ให้เด็กเลือกไข่ที่มีเฉพาะสีขาวออกมาจากตะกร้าแล้วนับว่าได้กี่ฟอง
- สอนในเรื่องของ แยกประเภท ให้เด็กแยกไข่ไก่และไข่เป็ดออกมาและนับว่ามีทั้งหมดกี่ฟอง
- สอนในเรื่องของ เปรียบเทียบ และจำนวน ให้เด็กจับคู่ไข่ที่เหมือนกันและเมื่อจับคู่ครบให้เด็กดูว่ามีไข่เหลือมั้ย ถ้าไม่เหลือแสดงว่าไข่ทั้งหมดมีจำนวนเท่ากัน
- สุดท้ายให้เด็กดูรูปของไข่ไก่และไข่เป็ดว่าแตกต่างกันอย่างไรและให้เด็กวาดรูปไข่ทั้ง 2 ชนิด
- สอนในเรื่องของ สี อธิบายให้เด็กฟังว่าไข่เป็ดมีสีขาวและไข่ไก่มีสีครีม
- สอนในเรื่องของ ขนาด ให้เด็กสังเกตดูไข่ทั้ง 2 ชนิดว่า เท่ากันหรือไม่เท่ากันหรือไม่
- สอนในเรื่องของ รูปทรง ให้เด็กดูว่าไข่ทั้ง 2 ชนิด มีรูปทรงอย่างไร กลมหรือรี
- สุดท้ายถามเด็กว่าเวลาเห็นไข่เด็กๆนึกถึงอะไรเป็นการให้เด็กได้ฝึกคิดจินตนาการและสร้างสรรค์
 
 

บันทึกการเรียนครั้งที่11





     วันนี้อาจารย์พูดถึงงานที่ได้รับมอบหมายของแต่ละกลุ่ม อาจารย์ได้อธิบายว่า สื่อสามารถบูรณาการได้หลายอย่างและหลักของคณิตศาสตร์ต้องมีกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่า การทำสื่อควรใช้งานได้หลายครั้งและหลายอย่างสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


กลุ่มที่1สื่อการนับเลข สื่อชนิดนี้จะสอนให้เด็กรู้จัก หลักหน่วย หลักสิบ การนับเลข บวกเลข ลบเลข

กลุ่มที่2สื่อสถิติและกราฟสื่อชนิดนี้ทำให้เด็กรู้จักการเปรียบเทียบของ2-3สิ่ง และแผนภูมิต่างๆ

กลุ่มที่3สื่อปฏิทินสามารถเปลี่ยนวันที่ได้สามารถทำให้เด็กบวกเลขและรู้จัวันวันสำคัญต่างๆของไทย









บันทึกการเรียนครั้งที่10

วันนี้อาจารย์สอนใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์โดยอาจารย์ไดให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการทำงานกลุ่มของแต่ละกลุ่มว่าทำอย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กความปลอดภัยต่างๆ


 
                                                          บรรยากาศในการทำงาน

บันทึกการเรียนครั้งที่9

***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน***

หมายเหตุ  เนื่องจากหยุดปีไหม่



บันทึกการเรียนครั้งที่8

***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน***

หมายเหตุ  เนื่องจากสอบกลางภาค




บันทึกการเรียนครั้งที่7

วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเนื้อหา ดังนี้

คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับการคิด การคำนวณ โดยใช้หลักความเป็นเหตุเป็นผล

เกณฑ์หรือมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ซึ่งในการกำหนดเกณฑ์มาตราฐาน สสวท.เป็นผู้
กำหนด มีดังนี้


สาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการ
มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างและสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
มาตรฐาน ค 2.2 วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
มาตรฐาน ค 2.3 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)
และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหาได้

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1 อธิบายและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชันต่าง ๆ ได้
มาตรฐาน ค 4.2 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
มาตรฐาน ค 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้
สาระที่ 6 : ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 6.2 มีความสามารถในการให้เหตุผล
มาตรฐาน ค 6.3 มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
มาตรฐาน ค 6.4 มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และ
เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ได้
มาตรฐาน ค 6.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ที่มา : http://www.ipst.ac.th/math_curriculum/math_std.html

บันทึกการเรียนครั้งที่6

วันนี้อาจารย์ให้นำกล่องมาคนละ1กล่อง กล่องสามารถบอกรูปทรงปริมาณขนาดได้และอาจารย์ได้ถามว่ากล่องแต่ละคนนึกถึงอะไรและอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มๆละ11คนมาประดิษฐ์เป็นอะไรก็ได้แต่มีเงื่อนไขดังนี้


         กลุ่มที่ 1 คุยกันได้ วางแผนกันก่อน ( ประดิษฐ์เป็นรูปคน )
         กลุ่มที่ 2 คุยกันได้ลงมาติดที่ละคน  ( ประดิษฐ์เป็นตึกหลากสี )
         กลุ่มที่ 3 คุยกันไม่ได้ ( ประดิษฐ์เป็นสถานีรถไฟ )



        

บันทึกการเรียนครั้งที่5

วันนี้อาจาร์ได้ประชาสัมพันธ์การลงนามถวายพระพรในวันที่3-4ธันวาคม2555ในวันที่3ลงนามถวายพระพรส่วนวันที่4ให้นำเสื้อสีเหลืองมาด้วยเพื่อนำมาใส่เต้นแอโรบิคและอาจาร์ได้เข้าถึงบทเรียนเรื่องขอบข่ายคณิตศาสตร์อธิบายต่อจากครั้งที่แล้วโดยอาจารย์ยกตัวอย่างมา 2 คน ดังนี้

ขอบข่ายคณิตศาสตร์

1.การนับ(counting)                                       7.รูปทรงและเนื้อที่(figure and area)
2.ตัวเลข(number)                                        8.การวัด(measurement)
3.การจับคู่(matching)                                    9.เซต(set)
4.การจัดประเภท(classification)                    10.เศษส่วน(fraction)
5.การเปรียบเทียบ(comparing)                     11.การทำตามแบบหรือลวดลาย(patte ming)
6.การจัดลำดับ(ordering)                             12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ให้ปริมาณ(con ervation) 
 ***แหล่งอ้างอิง  นิตยา  ประพฤติกิจ 2541  17-19*** 


ขอบข่ายคณิตศาสตร์

1.การจับกลุ่มหรือเซต  การจับคู่
2.จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่  จำนวนคี่
3.ระบบจำนวน (number system) ชื่อของตัวเลข 1-10
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จาการรวมกลุ่ม
6.ลำดับที่
7.การวัด
8.รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง รูปทรง
9.สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาโดยการบันทึก ทำแผนภูมิการเปรียบเทียบต่างๆ
***แหล่งอ้างอิง เยาวภา เดชะกุปต์***